
ความตกลงด้านการคุ้มครองชั้นบรรยากาศ
ประกอบด้วย 4 ฉบับ ได้แก่ อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยการพิทักษ์ชั้นบรรยากาศโอโซน (Vienna Convention for the Protection of the Ozone Layer) พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยการลดและเลิกการใช้สารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (The Montreal Protocol on Substances that Deplete the Ozone Layer) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change - UNFCCC) และพิธีสารเกียวโต (The Kyoto Protocol)
อนุสัญญาเวียนนา (Vienna Convention)
ในปี พ.ศ. 2524 องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้จัดตั้งคณะทำงานด้านกฎหมายและวิชาการ เพื่อวางโครงร่าง สำหรับการปกป้องชั้นโอโซน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความตกลงในรูปสนธิสัญญาระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาการทำลายชั้นโอโซน เรียกว่าอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยการป้องกันชั้นโอโซน อนุสัญญาเวียนนาประกอบด้วยคำปฏิญาณในอันที่จะร่วมมือกันในการศึกษาค้นคว้า เฝ้าระวัง และการแลกเปลี่ยนข้อมูลปริมาณการผลิตและการปล่อยสารทำลายชั้นโอโซน รวมถึงการดำเนินการควบคุมตามอนุสัญญาที่จะกำหนดขึ้นในอนาคตด้วย แม้ว่าอนุสัญญาเวียนนาจะไม่ได้มีข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติเพื่อลดการผลิตและการใช้สารทำลายชั้นโอโซน แต่อนุสัญญาเวียนนาก็จัดเป็นอนุสัญญาที่สำคัญในประวัติศาสตร์ฉบับหนึ่งที่ประเทศต่าง ๆ ยอมรับมาตรการป้องกันในการเจรจาระหว่างประเทศ และเห็นพ้องกันในการที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมโลก ก่อนที่จะมีผลการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ และเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงขึ้น โดยได้มีประเทศต่าง ๆจำนวน 28 ประเทศ ร่วมกันให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาดังกล่าวครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528
พิธีสารมอนทรีออลเพื่อการลดและเลิกการใช้สารทำลายชั้นโอโซน (The Montreal Protocol on Substances that Deplete the Ozone Layer)
หลังจากการยอมรับอนุสัญญาเวียนนาเพียง 2 เดือน ได้มีการตีพิมพ์บทความรายงานการสำรวจทวีปแอนตาร์คติคของคณะสำรวจชาวอังกฤษที่มี ดร.โจ ฟาร์แมน เป็นหัวหน้าคณะ ในรายงานได้เปิดเผยถึงปริมาณโอโซนที่ลดลงอย่างน่าวิตกในฤดูใบไม้ผลิ จนเกิดลักษณะที่เรียกว่า “หลุมโอโซน” (Ozone Hole) ขึ้นเหนือทวีปแอนตาร์คติคซึ่งลักษณะการเกิดหลุมโอโซนดังกล่าวนี้ได้ถูกตรวจพบโดยดาวเทียมสำรวจของประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2523 แต่มิได้มีการนำข้อมูลมาพิจารณาเนื่องจากความเข้าใจผิดว่าข้อมูลที่พบโดยบังเอิญนั้นเกิดจากความผิดพลาดของเครื่องมือและอุปกรณ์ แม้ในขณะนั้นสาเหตุของการเกิดหลุมโอโซนยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ก็ได้มีการตั้งข้อสงสัยว่าสาร CFCs อาจเป็นต้นเหนุของการเกิดหลุมโอโซน
จากข้อมูลข้างต้นได้ผลักดันให้องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ในฐานะหน่วยงานกลางด้านสิ่งแวดล้อมดำเนินการให้มีการเจรจาต่อรองเพื่อร่างข้อกำหนด และมาตรการเพื่อการยับยั้งการทำลายชั้นโอโซน ภายใต้อนุสัญญาเวียนนา ซึ่งสามารถร่างแล้วเสร็จได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2530 ที่นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ประเทศทั่วโลกจำนวน 47 ประเทศได้ประกาศให้สัตยาบันต่อข้อกำหนดดังกล่าว และได้เรียกข้อกำหนดนี้ว่าพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน ดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงการให้สัตยาบันต่อพิธีสารฉบับนี้ ในปี พ.ศ. 2538 องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปีเป็นวันโอโซนสากลและขอความร่วมมือให้ประเทศภาคีสมาชิกจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการปกป้องชั้นโอโซน ปัจจุบันนี้มีประเทศต่างๆ จากทั่วโลกได้ร่วมกันให้สัตยาบันตามอนุสัญญาเวียนนาแล้ว 184 ประเทศ และในจำนวนนี้ได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออลแล้ว 183 ประเทศ ทั้งนี้ในพิธีสารมอนทรีออลได้มีการแก้ไขปรับปรุงจนถึงปัจจุบันแล้ว 4 ครั้งและได้มีประเทศต่าง ๆให้สัตยาบันตามฉบับที่แก้ไขดังนี้ ครั้งที่ 1 ที่นครลอนดอน 160 ประเทศ ครั้งที่2 ที่กรุงโคเปนเฮเกน 136 ประเทศ ครั้งที่ 3 ที่เมืองมอนทรีออล 74 ประเทศและครั้งที่4 ที่กรุงปักกิ่ง 24 ประเทศ
พิธีสารมอนทรีออลมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ คือ ความยืดหยุ่นซึ่งจะทำให้สามารถรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามความก้าวหน้าทางวิชาการ ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซนได้ตามสภาพการณ์และข้อมูลทางวิชาการที่เปลี่ยนแปลงไป
ประกอบด้วย 4 ฉบับ ได้แก่ อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยการพิทักษ์ชั้นบรรยากาศโอโซน (Vienna Convention for the Protection of the Ozone Layer) พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยการลดและเลิกการใช้สารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (The Montreal Protocol on Substances that Deplete the Ozone Layer) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change - UNFCCC) และพิธีสารเกียวโต (The Kyoto Protocol)
อนุสัญญาเวียนนา (Vienna Convention)
ในปี พ.ศ. 2524 องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้จัดตั้งคณะทำงานด้านกฎหมายและวิชาการ เพื่อวางโครงร่าง สำหรับการปกป้องชั้นโอโซน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความตกลงในรูปสนธิสัญญาระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาการทำลายชั้นโอโซน เรียกว่าอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยการป้องกันชั้นโอโซน อนุสัญญาเวียนนาประกอบด้วยคำปฏิญาณในอันที่จะร่วมมือกันในการศึกษาค้นคว้า เฝ้าระวัง และการแลกเปลี่ยนข้อมูลปริมาณการผลิตและการปล่อยสารทำลายชั้นโอโซน รวมถึงการดำเนินการควบคุมตามอนุสัญญาที่จะกำหนดขึ้นในอนาคตด้วย แม้ว่าอนุสัญญาเวียนนาจะไม่ได้มีข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติเพื่อลดการผลิตและการใช้สารทำลายชั้นโอโซน แต่อนุสัญญาเวียนนาก็จัดเป็นอนุสัญญาที่สำคัญในประวัติศาสตร์ฉบับหนึ่งที่ประเทศต่าง ๆ ยอมรับมาตรการป้องกันในการเจรจาระหว่างประเทศ และเห็นพ้องกันในการที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมโลก ก่อนที่จะมีผลการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ และเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงขึ้น โดยได้มีประเทศต่าง ๆจำนวน 28 ประเทศ ร่วมกันให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาดังกล่าวครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528
พิธีสารมอนทรีออลเพื่อการลดและเลิกการใช้สารทำลายชั้นโอโซน (The Montreal Protocol on Substances that Deplete the Ozone Layer)
หลังจากการยอมรับอนุสัญญาเวียนนาเพียง 2 เดือน ได้มีการตีพิมพ์บทความรายงานการสำรวจทวีปแอนตาร์คติคของคณะสำรวจชาวอังกฤษที่มี ดร.โจ ฟาร์แมน เป็นหัวหน้าคณะ ในรายงานได้เปิดเผยถึงปริมาณโอโซนที่ลดลงอย่างน่าวิตกในฤดูใบไม้ผลิ จนเกิดลักษณะที่เรียกว่า “หลุมโอโซน” (Ozone Hole) ขึ้นเหนือทวีปแอนตาร์คติคซึ่งลักษณะการเกิดหลุมโอโซนดังกล่าวนี้ได้ถูกตรวจพบโดยดาวเทียมสำรวจของประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2523 แต่มิได้มีการนำข้อมูลมาพิจารณาเนื่องจากความเข้าใจผิดว่าข้อมูลที่พบโดยบังเอิญนั้นเกิดจากความผิดพลาดของเครื่องมือและอุปกรณ์ แม้ในขณะนั้นสาเหตุของการเกิดหลุมโอโซนยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ก็ได้มีการตั้งข้อสงสัยว่าสาร CFCs อาจเป็นต้นเหนุของการเกิดหลุมโอโซน
จากข้อมูลข้างต้นได้ผลักดันให้องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ในฐานะหน่วยงานกลางด้านสิ่งแวดล้อมดำเนินการให้มีการเจรจาต่อรองเพื่อร่างข้อกำหนด และมาตรการเพื่อการยับยั้งการทำลายชั้นโอโซน ภายใต้อนุสัญญาเวียนนา ซึ่งสามารถร่างแล้วเสร็จได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2530 ที่นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ประเทศทั่วโลกจำนวน 47 ประเทศได้ประกาศให้สัตยาบันต่อข้อกำหนดดังกล่าว และได้เรียกข้อกำหนดนี้ว่าพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน ดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงการให้สัตยาบันต่อพิธีสารฉบับนี้ ในปี พ.ศ. 2538 องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปีเป็นวันโอโซนสากลและขอความร่วมมือให้ประเทศภาคีสมาชิกจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการปกป้องชั้นโอโซน ปัจจุบันนี้มีประเทศต่างๆ จากทั่วโลกได้ร่วมกันให้สัตยาบันตามอนุสัญญาเวียนนาแล้ว 184 ประเทศ และในจำนวนนี้ได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออลแล้ว 183 ประเทศ ทั้งนี้ในพิธีสารมอนทรีออลได้มีการแก้ไขปรับปรุงจนถึงปัจจุบันแล้ว 4 ครั้งและได้มีประเทศต่าง ๆให้สัตยาบันตามฉบับที่แก้ไขดังนี้ ครั้งที่ 1 ที่นครลอนดอน 160 ประเทศ ครั้งที่2 ที่กรุงโคเปนเฮเกน 136 ประเทศ ครั้งที่ 3 ที่เมืองมอนทรีออล 74 ประเทศและครั้งที่4 ที่กรุงปักกิ่ง 24 ประเทศ
พิธีสารมอนทรีออลมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ คือ ความยืดหยุ่นซึ่งจะทำให้สามารถรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามความก้าวหน้าทางวิชาการ ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซนได้ตามสภาพการณ์และข้อมูลทางวิชาการที่เปลี่ยนแปลงไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น